ชุมชนตลาดน้ำคลองบางหลวง
ที่อยู่ : 315 วัดทองศาลางาม ซ.เพชรเกษม28
ถ.เพชรเกษม แขวงคูหาสวรรค์ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพ 10160
GPS : 13.731317, 100.463400
เบอร์ติดต่อ
: 02-868-5279, 089-125-3949, 081-258-9260
E-mail :
thaipuppeteer@gmail.com
Website :
http://www.klongbangluang.com
Facebook :
http://www.facebook.com/profile.php?id=100002157850625&sk=wall
เวลาทำการ
: จันทร์-อังคาร 10.00 น.-18.00 น., พุธ-ศุกร์ 09.00
น.-18.00น., เสาร์-อาทิตย์
09.00 น.-19.00 น.
การเดินทาง
- ถ้ามาโดยรถส่วนตัวแนะนำให้เข้า ซอยเพชรเกษม 28 วิ่งตรงเข้าไปตามป้ายบอกทางไปวัดคูหาสวรรค์ ซึ่งมีบอกอยู่เป็นระยะ จอดรถในวัดแล้วเดินเลี้ยวขวาเลียบคลองไป
- ผู้ที่มาด้วยรถสาธารณะให้เข้ามาทาง ซอยจรัญสนิทวงศ์ 3 โดยรถเมล์สายที่ผ่านได้แก่ 57,68 ,80 ,81 ,91 ,108 ,146 ,157 ,171 ,175 ,509 ,542 และ ปอ.พ.10 จากนั้นสามารถนั่งรถสองแถวราคา 6 บาท หรือมอเตอร์ไซค์รับจ้างราคา 7 บาท มาลงหน้า เซเว่น-อีเลฟเว่น สุดซอย แล้วก็เดินข้ามสะพานไป
- ถ้าต้องการจะมาทางเรือก็ขึ้นเรือรับจ้างเหมาลำมาจากปากคลองตลาด ลำละ 700 บาท
ตรงข้าม จรัญสนิทวงศ์ ซอย 3 จะมีวัดท่าพระให้สังเกตได้ง่าย |
เดินเข้ามา ประมาณ 20 เมตร จะมีวินมอนเตอร์ไซด์ให้เรียกเข้าไป |
พอเลี้ยวขวามาก็ข้ามสะพานไปก็จะเจอชุมชนตลาดน้ำบางคลองหลวง |
![]() ท้ายซอยจะมีร้านเซเว่นเลี้ยวขวาไปเลย |
ตลาดน้ำคลองบางหลวง
วิถีชีวิตชาวบ้าน เยี่ยมชมศิลปะโบราณ
อนุรักษ์วัฒนธรรม ตลาดน้ำคลองบางหลวง
ประวัติคลองบางหลวง
คลองบางหลวง หรือ คลองบางกอกใหญ่ เป็นคลองเก่าแก่ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมาสร้างราชธานีใหม่ที่กรุงธนบุรีตรงวัดคูหาสวรรค์หรือที่เรียกว่าวัดศาลาสี่หน้า เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยามาก่อน
กล่าวคือบริเวณตั้งแต่ปากคลองบางกอกน้อย ตรงข้ามมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปจนถึงปากคลองบางหลวงในปัจจุบันนั้น
ยังเป็นแผ่นดินอยู่ แม่น้ำเจ้าพระยาเดิมจะอ้อมเลี้ยวจากหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เป็นคุ้งกว้างมาทะลุออกข้างวัดท้ายตลาด ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช
(พ.ศ.2077 - 2089) โปรดเกล้าให้ขุดคลองลัดระหว่างคุ้งแม่น้ำทั้งสองเพื่อย่นระยะทางและอำนวยความสะดวกให้กับบรรดาพ่อค้าทูตานุทูตชาวตะวันตกที่เริ่มเข้ามาติดต่อค้าขายและเจริญสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ในสมัยนั้น
จึงย้ายเมืองธนบุรีมาตั้งป้อมปราการขึ้นที่ตรงวัดอรุณราชวราราม ดังนั้นแล้วจะเห็นได้ว่า
คลองบางหลวงบริเวณนี้
นับเป็นบริเวณที่มีความเป็นมาและมีความสำคัญในประวัติศาสตร์ของไทยเป็นอย่างมาก
ต่อมาคลองลัดเริ่มกว้างใหญ่ขึ้นกลายเป็นแม่น้ำ
ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมก็เล็กลงกลายเป็นคลองบางกอกน้อยและคลองบางกอกใหญ่
ถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน ราชสำนักย้ายมาอยู่ที่กรุงธนบุรี คลองบางหลวงกลายมาเป็นชุมชนของข้าหลวง
เหล่าข้าราชการขุนนางชั้นผู้ใหญ่หลายต่อหลายท่านมาจับจองสร้างบ้านกันอยู่ริมคลองบางกอกใหญ่
เพราะเป็นบริเวณใกล้เคียงกับพระราชวังกรุงธนบุรี และทรงโปรดเกล้าให้บรรดาคนจีนซึ่งได้เคยช่วยเหลือพระองค์มาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมคลองบางหลวง
ชาวบ้านจึงเรียกกันติดปากว่า คลองบางข้าหลวง หรือ คลองบางหลวง สืบมาถึงในปัจจุบัน
รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร กำหนดให้คลองบางหลวงเป็นคลองสำคัญซึ่งจะต้องอนุรักษ์ไว้ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
13 มิถุนายน พ.ศ. 2510 ปากคลองบางหลวงแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งขวาของป้อมวิไชยประสิทธิ์
ไปสิ้นสุดที่คลองมอญ ตรงข้ามปากคลองชักพระ มีความยาวประมาณ 6 กิโลเมตร
คลองบางหลวงในปัจจุบันนั้นถือเป็นเส้นทางสัญจรและระบายน้ำ
และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สำคัญอย่างมาก
มีศาสนสถานตั้งอยู่อย่างหนาแน่นทั้งสองฝั่ง วัดและมัสยิดริมคลองบางกอกใหญ่ได้แก่
·
วัดโมลีโลกยาราม
·
วัดหงส์รัตนาราม
·
วัดโบสถ์อินทรสารเพชร
·
วัดสังข์กระจาย
·
วัดประดิษฐาราม
·
วัดเวฬุราชิน
·
วัดอินทาราม
·
วัดจันทาราม
·
วัดราชคฤห์
·
วัดประดู่ในทรงธรรม
·
วัดนวลนรดิศ
·
วัดปากน้ำ
·
วัดคูหาสวรรค์
·
วัดกัลยาณมิตร
·
วัดวิจิตรการนิมิตร
·
มัสยิดบางหลวง(กุฎีขาว)
·
มัสยิดต้นสน
·
กุฎีเจริญพาศน์
ในสมัยยุคที่ตลาดน้ำคลองบางหลวงยังรุ่งเรือง
จะมีร้านทองและร้านค้ามากมายตั้งอยู่เรียงราย ปัจจุบันชาวบ้านได้ปรับปรุงบ้านและบางย่านก็ทำเป็นร้านค้าไว้ให้นักท่องเที่ยว
แต่ส่วนใหญ่จะเป็นคนแกที่อาศัยอยู่บ้านแถวนี้
เพราะที่นี่ยังคงเงียบสงบและคนไม่พลุกพล่าน และมีร้านค้าแบบเก่าๆให้ได้เห็นกัน
เช่น ร้านตัดผมผู้ชาย ร้านทำผม ร้านเชื่อมสังกะสี ร้านขายของชำ ทำให้นักท่องเที่ยวได้ชมภูมิทัศน์ทางสถาปัตยกรรมของอาคารเรือนไม้สองชั้นหันหน้าเข้าหากันยาวกว่า
130 ห้อง ที่มาของ "บ้านเก่า เหล่าเต๊งไม้" และได้ชิมลิ้มลองความหลากหลายของอาหารท้องถิ่นและอาหารอื่นๆที่มีรสชาติอร่อย
นอกจากนั้นยังมีบริการล่องเรือเที่ยวคลองบางหลวงและคลองรอบๆชมวิถีชีวิตบ้านเรือนริมคลองที่หลงเหลืออยู่
ค่าบริการ 70 บาท(ต่อคน)
![]() |
สะพานเก่าจริง |
สามารถนั่งให้อาหารปลาตรงไหนก็ได้ |
นอนเล่นก็ยังได้ |
ที่นี่มีปลาสวายชุกชุมมาก เพิ่งจะมาเมื่อไม่กี่ปีนี้เอง |
ไอศกรีมกะทิ คุณลุงเขาทำเอง อร่อย หอมมาก |
ตามทางจะมีขายอาหารปลาเยอะมาก |
ฝาผนังบ้านจะซ่อมแซมให้เหมือนเดิมมากที่สุด |
บรรยากาศการจัดร้านแบบ Retro |
![]() |
เมนูร้านกาแฟโบราณที่เดี๋ยวนี้เป็นของประดับไปแล้ว |
![]() |
ปลาสวายเต็มคลอง |
คุณลุงกับคุณป้าพายเรือมาขายขนมเบื้องญวนโบราณ |
ขนมเบื้องญวนโบราณทำจากไข่และแป้ง แล้วใส่แตงกว่า เต้าหู้ ถั่วงอก ราดน้ำจิ้มหวาน |
ร้านเชื่อมสังกะสี |
วัดคูหาสวรรค์ ที่สร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา |
บ้านเก่าแก่จะเพดานต่ำมาก |
โรงเรียนประจำชุมชน ส่วนมากจะเรียนกันที่นี่ |
ร้านขายของสด เป็นร้านแรกจากสะพาน |
ชาวบ้านเล่าว่าคลินิกหมอสมปองมาอยู่แต่เดิมแล้ว แต่อยู่อีกฝั่งหนึ่งของชุมชน |
บ้านศิลปิน
คลองบางหลวง
“บ้านศิลปิน คลองบางหลวง
บ้านไม้สองชั้น โดดเด่นด้วยเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง
สมัยต้นกรุงธนบุรีที่ตั้งตระหง่านอยู่กลางบ้าน มุมพักผ่อนจิบกาแฟ มองปลาแหวกว่าย
ลอยคอรอต้อนรับทุกท่านที่มาเยือน ลิ้มรสอาหารที่ชาวบ้านล่องเรือมาตามสายน้ำ
ด้วยวิถีชาวบ้านดั้งเดิมอย่างแท้จริง สัมผัสกับบรรยากาศวิถีชีวิตชาวชุมชนคลองบางหลวงที่เปี่ยมด้วยน้ำใจ
และยังคงรักษาไว้ซึ่งวิถีชีวิตแบบเรียบง่าย เพลิดเพลินใจกับการแสดง หุ่นละครเล็ก
คลองบางหลวง คณะคำนาย”
เมื่อเดินเข้ามาภายในจะเจอกับพระเจดีย์ทรงระฆังคว่ำย่อมุมสิบสอง
ที่เป็นหนึ่งในสี่ของเจดีย์ทั้งหมด ที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาเพื่อใช้บอกอาณาเขตของวัดกำแพงบางจากนั่นเอง
และภายในบ้านศิลปินแห่งนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆ
ที่น่าสนใจนอกเหนือจากการแสดงหุ่นละครเล็ก อย่างการจิบกาแฟพร้อมกับเขียนโปสการ์ด
หรือจะนั่งเล่นเฟสบุ๊คก็ทำได้เหมือนกันเพราะมีอินเตอร์เน็ตไร้สายให้บริการ
หรือใครที่ชื่นชอบวาดเขียนก็ยังมีการเพ้นท์หน้ากากหนุมาน การทำภาพพิมพ์
หรือใครถนัดแต่ชื่นชมงานศิลป์ด้วยตา
ก็สามารถเดินชมภาพวาดบนชั้นสองของตัวบ้านได้อีกด้วย
บันทึกของคุณชุมพล อักพันธานนท์
“ตระกูล รักสำหรวจ ทำกิจการค้ากับบ้านหลังนี้ มาช้านาน
เริ่มตั้งแต่ธนบุรีเป็นเมืองหลวง เดิมเป็นบ้านทรงมนิลา มีการซ่อมแซม ต่อเติม
ตามอายุ นับร้อยปีของบ้าน ยังคงเหลือความงามบางส่วนให้เห็น
เดิมนั้นทั้งย่านนี้
เป็นชุมชนทำทองเกือบทั้งย่าน และเป็นเมืองหลวงธนบุรี ตั้งอยู่ ณ จุดนี้
ธุรกิจตระกูลนี้
นอกจากทำทองแล้ว ยังขายของชำหลากหลายชนิด พอเริ่มต้นรัชสมัยรัตนโกสินทร์
ผู้คนนับหน้าถือตา ข้าราชการมาก ตระกูลนี้จึงหันเหมารับราชการจวบจนปัจจุบัน เช่น
พลเรือเอกยอดชาย รักสำหรวด
ข้าพเจ้าถูกทาบทาม
ให้ติดต่อองค์กรมาอนุรักษ์บ้านหลังนี้
เท่าที่จะทำได้เพื่อรักษาบ้านหลังนี้ให้คงอยู่ข้าพเจ้าทั้งติดต่อหน่วยงานอนุรักษ์หลายๆหน่วยงาน
บ้านหลังนี้ บ้านเลขที่ 1 ในยุคนั้นก็ตามก็ยังไม่มีใครเห็นความสำคัญ
สุดท้ายงานก็สำเร็จได้ด้วยแรงใจและแรงทรัพย์จากรุ่นพี่ เพื่อนร่วมรุ่นเดียวกัน รวม
3 ท่าน คือ นางสาวสุรางค์รักษ์ ชัยศรีโชติ, นางจิตติมา วิบูลย์ลาภ,
นายเอก ธโชติวัฒนากร
มาร่วมกันซ่อมแซม
เหน็ดเหนื่อยกันมากกว่าจะสำเร็จ หลังจากงานซ่อมแซมสำเร็จแล้วมาคิดกันว่า
ชีวิตที่เหลือจะทำอย่างไรกับบ้านหลังนี้ ไม่อยากให้เป็นอย่างตลาดน้ำอัมพวา
ไม่อยากให้คนหนาแน่นอย่างตลาดสามชุก
ไม่อยากให้คนทุกข์กับการลงทุนที่ต้องฟื้นทุกอย่างให้รุ่งเรืองเช่นอดีต
นับตั้งแต่บ้านซ่อมแซมเสร็จ
ข้าพเจ้าคำนึงถึงชีวิต และกิจกรรมแห่งชีวิตริมน้ำที่นี่ ข้าพเจ้ามีความสุขที่เห็นวิถีชีวิต
อย่างที่เป็นอยู่ มากกว่าที่จะช่วยกันโหมประชาสัมพันธ์ให้คนมากันมากๆ อยากจะบอกว่าให้มาเยือน
กลิ่นอดีต กับชีวิตที่เคยรุ่งเรือง กราบไหว้พระเจดีย์ ที่ให้ทุกอย่างกับข้าพเจ้า
และชื่นชมวิถีชีวิตที่งดงาม กับสายน้ำที่ไหลหลับ ทุกวันที่นี่”
หุ่นละครเล็ก
ศิลปวัฒนธรรมไทยนับวันจะค่อย ๆ
เลือนหายไปจากสังคมไทย และกลายเป็นเรื่องไกลตัวทั้ง ๆ ที่ศิลปวัฒนธรรมเป็นรากเหง้า
ของคนไทยมาแต่ช้านาน
และถึงแม้ปัจจุบันวัฒนธรรมตระวันตกจะเข้ามามีอิทธิพลทำให้เยาวชนหันไปนิยมจนลืมศิลปวัฒนธรรมไทยกันไปบ้าง
แต่ยังมีกลุ่มศิลปินที่ยังคงรักศิลปวัฒนธรรมไทยด้วย
เล็งเห็นว่าถึงแม้สังคมไทยจะแปรเปลี่ยนไปอย่างไร แต่หากมีผู้ร่วมสืบสาน
และอนุรักษ์มากขึ้นศิลปวัฒนธรรมไทยไม่ว่าแขนงใดก็ตามจะไม่มีวันเลือนหายไปจากสังคมไทยอย่างแน่นอน
การแสดงหุ่นละครเล็ก
ศิลปะการแสดงหุ่นของไทยประเภทหนึ่ง ที่มีอายุยาวนานมากว่า 100 ปี ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี
2444 โดยครูแกร ศัพทวานิช และครูเปียก ประเสริฐกุล
นิยมเล่นเรื่องพระอภัยมณีและเรื่องอื่นๆบ้าง ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง ๓๐ กว่าตัว
และได้รับการรักษาไว้ที่เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ และได้รับการสืบทอดโดยครูสาคร
ยังเขียวสด ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดงหุ่นละครเล็ก พ.ศ. 2539 ซึ่ง ณ
ปัจจุบันมีผู้ที่สนใจร่วมอนุรักษ์ และสืบสานศิลปะแขนงนี้เพิ่มมากขึ้น
การแสดงหุ่นละครเล็กเป็นการแสดงที่ผู้เชิดต้องมีความสามารถเฉพาะทาง
และมิใช่เรื่องง่ายที่ใครจะสามารถเชิดหุ่น
ละครเล็กได้ เนื่องจากผู้เชิดต้องมีพื้นฐานโขน ละคร เป็นอย่างดี
หลังจากนั้นถึงจะสามารถเริ่มฝึกการเชิดหุ่นละครเล็กได้ แต่ต้องใช้ระยะเวลามากกว่า
1 ปี ถึงจะสามารถถ่ายถอดจิตวิญญาณสู่หุ่นละครเล็กให้มีท่วงท่าที่อ่อนช้อย
และงดงามได้ อีกทั้งในการเชิดหุ่นละครเล็ก
ต้องใช้ผู้เชิดถึง 3 คน เพราะใช้ส่วนขาเคลื่อนไหวด้วย โดยเฉพาะตัวยักษ์ พระ ลิง
แต่ตัวนางใช้คนเชิด ๒ คน แสดงทั้งตัว โดยใช้ขาประกอบการร่ายรำด้วย
จึงต้องมีกลไกสายใยมาก ทำให้สามารถขยับคอ นิ้วมือ และยกขาได้
แต่ก็ไม่แนบเนียนและซับซ้อนเท่าหุ่นหลวง จึงต้องรวมใจของทั้ง 3
ให้เป็นหนึ่งเดียวเพื่อถ่ายทอดไปยังตัวหุ่นละครเล็ก
ให้หุ่นละครเล็กเคลื่อนไหวประดุจมีชีวิต ซึ่งยังคงเอกลักษณ์ดั้งเดิมที่บรรพบุรุษได้สั่งสมภูมิปัญญาจนเกิดเป็นวัฒนธรรมอันเป็นที่ยอมรับของทั่วโลก
ที่สร้างมนต์เสน่ห์ให้กับผู้พบเห็นไม่ว่าจะเป็นชาวไทย หรือชาวต่างชาติ
หุ่นละครเล็ก คลองบางหลวง คณะคำนาย
หุ่นละครเล็ก คลองบางหลวง คณะคำนาย ได้ก่อตั้งขึ้น
ณ บ้านศิลปิน เมื่อวันที่ 9 เดือน 9 ปี 2010 ที่ผ่านมา โดยการรวมตัวของกลุ่มศิลปินนักแสดงเชิดหุ่นละครเล็ก
ด้วยมีแนวคิดเดียวกันในการมุ่งหวังที่จะร่วมเผยแพร่
อนุรักษ์ศิลปะการแสดงหุ่นละครเล็ก ในฐานะเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการเชิดหุ่นละครเล็กร่วม
10 ปี โดยได้รับโอกาสจากผู้ใหญ่ใจดีอย่าง อาจารย์วัชระ ประยูรคำ
ปฏิมากรชั้นนำของเมืองไทย
เป็นผู้ร่วมก่อตั้งกับกลุ่มศิลปินเชิดหุ่นละครเล็กและได้รับความเมตตาจากคุณชุมพล
อักพันธานนท์ เจ้าของบ้านศิลปิน ปรับพื้นที่บางส่วนภายในบริเวณบ้าน
ให้เป็นลานวัฒนธรรม เพื่อจัดการแสดงหุ่นละครเล็กให้ชมกันฟรีๆทุกวัน รอบเวลา 14.00
น.
(การแสดงหยุดทุกวันพุธ) เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้อีกหนึ่งแห่งให้กับเยาวชน นักเรียน
นักศึกษา และเพื่อสร้างกิจกรรมที่หลากหลายให้กับชุมชน และส่งเสริมให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางน้ำที่ควรค่าแก่การสืบสานให้อยู่คู่สังคมไทยต่อไป
เพื่อเป็นการนำศิลปวัฒนธรรมไทยให้เข้าถึงกลุ่มผู้ที่ไม่มีโอกาส
อีกทั้งเพื่อเป็นการร่วมเผยแพร่และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยอย่างแท้จริง
“คำนาย” เป็นคำที่คนสมัยก่อนมักใช้เรียกกัน
โดย "คำ" ในที่นี้หมายถึง "ทองคำ" ส่วน "นาย"
หมายถึงศิลปิน ในคณะรวมกันหมายถึง
"กลุ่มศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่ทรงคุณค่าประดุจดั่งทองคำ"
เอกลักษณ์ของการแสดงหุ่นละครเล็ก คลองบางหลวง
คณะคำนาย
ในยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง
หลายสิ่งหลายอย่างต้องมีการพัฒนา รวมถึงศิลปะการแสดง
เพื่อให้ทันท่วงทีกับสภาพสังคมและความนิยม แต่ยังคงรากเหง้าทางวัฒนธรรม
สิ่งชี้วัดความเจริญ จึงทำให้หุ่นละครเล็กได้มีการพัฒนาไปอีกขั้น
ตามกระแสสังคมที่ต้องทำงานแข่งกับเวลา เผชิญสภาวะความเครียด ทำให้ต้องมีกลยุทธ์ในการนำเสนอการแสดงให้มีความแปลกใหม่
สร้างความสนุกสนาน สร้างรอยยิ้มและความสุขให้กับคนดูได้
ในช่วงเวลาของการพักผ่อนสั้นๆ แต่สามารถสร้างความประทับใจให้คนดูรู้สึกจดจำ
และหวนกลับมาชมอีกครั้ง
หุ่นละครเล็ก คลองบางหลวง คณะคำนาย
ผู้เชิดทั้งสามคนจะต้องใส่หน้ากากสีดำ แต่งกายสีดำ สวมถุงแขน สวมถุงขาสีดำ
เพื่อเป็นการลดทอนความเป็นมนุษย์ และเพื่อส่งให้หุ่นเด่นมากยิ่งขึ้น
อีกทั้งเพื่อดึงความสนใจของผู้ชมให้อยู่แต่ที่ตัวหุ่น
หรืออีกนัยหนึ่งก็เปรียบได้ว่าผู้เชิดหุ่นเป็นเพียงจิต
และตัวหุ่นเปรียบเสมือนเป็นกาย เมื่อผู้เชิดคือจิตทั้งสามต่างมีหน้าที่แตกต่างกัน
ถ่ายทอดไปยังร่างกายเมื่อร่างกายสมบูรณ์ ทำให้เคลื่อนไหวได้อย่างงดงาม
และอ่อนช้อยประดุจเสมือนหุ่นมีชีวิต
สมาชิกคณะคำนาย
·
นายวัชระ
ประยูรคำ (ครูอ๊อด)
·
นายอนุศักดิ์
คันธรักษ์
·
นายทวีพงษ์
แครโอชา
·
นางสาวดารัณ
กิติตานนท์
·
นางสาวศศิพิมล
พาจรทิศ
·
นายศิวัช
สังข์สวน
·
นายธนกร
พาจรทิศ
·
นายศราวุธ
จันทรวรรณมาน
·
นายนพดล
หงส์สีสกุล
·
นายจตุพร
นิลโท
·
นายเฉลิมวุฒิ
ฉัตรรุ่งเรืองกุล
·
นางสาวญาณี
บุญประกอบ
·
นางสาวทอรุ้ง
วงศ์ศรีเผือก
·
นางสาวลลิตา
เพชรจอม
·
นายพีรยุทธ
ศรีใส
ส่วนของขายต่างหรือค่าธรรมเนียมในการสอนต่างๆมีรายละเอียดดังนี้
·
เรียนทำเปเปอร์มาเช่หน้ากาก 99 บาท
·
เรียนทำเปเปอร์มาเช่ + ลงสี 199 บาท
·
หน้ากากเปล่า + สีเพนท์ 119 บาท
·
หน้ากากเปล่า 69 บาท
“ ศิลปิน
ยังคงอยู่ได้ จากแรงสนันสนุน และส่งเสริม
ศิลปะถูกเติมเต็มได้ด้วยศิลปินที่ทำงานด้วยใจ
ศิลปะและวัฒนธรรม
อยู่ได้ ด้วยการอนุรักษ์ และเผยแพร่
ถ้ามีท่านร่วมสนับสนุน
ส่งเสริม อนุรักษ์ ศิลปิน
ศิลปวัฒนธรรมก็คงอยู่ได้อย่างยั่งยืน
”
เนื่องจากวันที่ผมไปทางคณะได้ไปทำการแสดงที่พัทยาพอดี ภาพบางส่วนจึงขอเอามาจาก Internet เพื่อให้ได้ชมบรรยากาศตอนที่คณะกำลังแสดงอยู่
ป้ายหน้าบ้าน |
![]() |
บรรยากาศตอนคนนั่งดูการแสดง |
![]() |
ลีลาของคนเชิดต้องสวยงามพร้อมเพรียงกันด้วย |
![]() |
มีร้านขายน้ำ ขายกาแฟ เพื่อช่วยรายได้ให้คณะ |
![]() |
Postcard |
![]() |
บรรดาของขายที่อยู่ในบ้านศิลปิน |
![]() |
บางครั้งมีนักศึกษามาให้พวกพี่ๆสอนพิมพ์ภาพบ้างครั้งคราว |
![]() |
สามารถซื้อหน้ากากมาลงสีได้ |
มีหน้ากากที่วาดโดยศิลปินขายด้วย |
![]() |
บางครั้งจะมีการวาดรูปเหมือนให้ แต่ราคาไม่ถูกนะ |
![]() |
เด็กๆสามารถมาเรียนรู้ศิลปะการแสดงที่นี่ได้ฟรี |
ก่อนเล่นจะมีการให้ความรู้ ในเรื่องการแต่งตัว การเชิด เล็กน้อย |
![]() |
การทำเชือกคาบ ไม่ให้หัวโขนหลุดออกขณะเล่น |
มีคุณลุงสีขาว นั่งมองวิวคลอง |
หน้ากากบางส่วนที่ทำเสร็จแล้วก็จะเอามาตาก |
ตารางงานแสดงของคณะ |
พระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง |
ชั้นสองจะมีการวางงานจิตรกรรมต่างๆไว้ให้ได้รับชม |
บ้านศิลปินเป็นบ้านหลังสุดท้านแล้วก็จะมีคลองกั้น |
Detail ของบานกระทุ้ง |
คุณลุงคนนี้เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของที่นี่เลยทีเดียว |
คู่กัน |
บทสัมภาษณ์คุณป้าขายอาหารปลา
เล่าถึงบรรยากาศที่นี่หน่อยสิครับ
ที่นี่นะ เหลือแต่คนแก่เฝ้าบ้าน
ทีนี้พอเริ่มมีตลาด มีบ้านศิลปินขึ้นมา ก็เริ่มมีนักท่องเที่ยว ก็เริ่มทำอะไรขาย
แต่ก็ยังขายไม่ดีนะ ปลาแต่ก่อนก็ไม่มี ปลามันเพิ่งจะมา มันมาเอง แต่ก่อนก็จะมีเรือโดยสารหางยาวไปขึ้นที่ปากคลองตลาด
แต่เดี๋ยวนี้ เรือโดยสารไม่ค่อยมี แต่กลับมีเรือนักท่องเที่ยวมากขึ้น วันเสาร์-อาทิตย์ก็จะเยอะกว่าหน่อย
แต่ที่จริงก็จะพอๆกัน
แล้วมีนักท่องเที่ยวเข้ามามีข้อเสียไหมครับ
มี มันก็มี อย่างหน้าบ้านเรามันไม่ใช่ท่าเรือ
ถ้ามีเรือใหญ่เข้ามา เราก็แย่ เราแค่ทำไว้เพื่อนั่งเล่น ความส่วนตัวก็ลดลง
บางคนเขาก็ไม่ชอบ แต่เราก็ถือว่าก็ดี เราก็ขายอะไรได้
แต่ทีนี้ท่าเรือเราไม่แข็งแรง แล้วฝรั่งนี่ก็ตัวอย่างใหญ่ ขึ้นมาที 20-30 คน
บันไดเราก็แย่ เสียเราก็ต้องซ่อมเอง เราก็หาช่างยากด้วย
แค่ลูกคลื่นซัดเราก็แย่แล้ว บ้านริมน้ำมันต้องซ่อมบ่อย
ทำไมที่นี่ถึงมีท่องเที่ยวเข้ามาเยอะครับ
เขาชอบที่นี่อย่างหนึ่ง คือ ไม่แออัด
คือที่นี่ไม่มีตลาด ไม่มีควันพวกขายของ คนเขาก็มาเดินเล่น นั่งเล่นสบายมากกว่า
คนที่ชอบธรรมชาติอ่ะนะ
ที่นี่มีน้ำท่วมบ่อยไหมครับ
ที่นี่ท่วมตอนปี พ.ศ.2526 ท่วมถึงเอวเลย
ท่วมตอนปีที่ป้าย้ายเข้ามาอยู่พอดี แล้วบ้านนี้ก็เป็นบ้านเก่า
ต้องต่อไม้กระดานทั้งบ้านเลย แต่หลังจากนั้นก็ไม่เคยท่วมอีกเลยนะ
เล่าถึงบ้านศิลปินหน่อยซิครับ
บ้านศิลปินเนี่ยเพิ่งเข้ามา
เพราะเจ้าของบ้านเขาเหลือคนสุดท้าย อายุ 70 กว่าปีละ
ลูกหลานแกก็อยากจะรับแกไปดูแลที่บ้านตัวเอง เลยบอกให้ขายบ้านหลังนี้ทิ้งไป
แล้วพอดีเขามาดูแล้วก็ชอบ เขาก็เลยซื้อเอาไว้ อนุรักษ์เอาไว้
เพราะบ้านมันก็ทรงโบราณ พอบ้านศิลปินนี้เข้ามาก็ถือเป็นเรื่องดีนะ
เราค้าขาบเราก็ว่าดี สนุกดี ไม่อย่างนั้นก็เงียบเหงา เฉาตายพอดี
แล้วบ้านนี้ก็มีสอนพวกเด็กๆนักศึกษาเรื่องศิลปะ การพิมพ์ภาพ การวาดภาพ
มีประโยชน์ดี
หลังจากนั้นคุณป้าก็บอกว่าให้ไปถามคุณยายตรงที่มีศาลาสวยๆอยู่หน้าบ้านสิ
แกเป็นเก่าแก่น่าจะรู้อะไรละเอียดกว่าป้า ผมก็เลยเดินไปขอสัมภาษณ์ยายแกต่อ
![]() |
อาหารปลาที่คุณป้าขาย |
บทสัมภาษณ์คุณยายร้านขายของที่ระลึก
คุณยายเล่าประวัติโดยคร่าวๆของที่นี่ให้ฟังหน่อยสิครับ
ที่นี่เคยเป็นที่อยู่ของมหาดเล็ก พวกข้าราชบริพาร ในสมัยช่วงธนบุรี
ตอนหลังก็มีเขตบางกอกใหญ่เข้ามาตั้ง เขาเลยเปลี่ยนเป็นคลองบางกอกใหญ่
แล้วก็เลยตัดคำว่า “ข้า” ของคลองบางข้าหลวงออก เป็นคลองบางหลวง
ยายมาเปลี่ยนกิจการเป็นค้าขาย เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมานี่เอง เราก็ไปรับข้าราชการข้างนอก
เล่าถึงบ้านศิลปินหน่อยซิครับ
บ้านนี้เป็นของตระกูล รักสำหรวด มีพี่น้องหลายคน
แล้วก็มีลูกมีหลานเป็นนายพลเยอะแยะเลย แต่พวกเด็กพวกนี้ ปัจจุบันก็ 60 กว่าปี แล้ว
ก็ออกไปอยู่ข้างนอก ก็เหลือน้องคนสุดท้องอายุ 80 กว่าปี
แกไม่มีครอบครัว หลานก็มารับไปอยู่ บ้านหลังที่แกอยู่ก็ไม่รู้จะเก็บไว้ทำไม
พอดีมีคุณชุมพล อักพันธานนท์ เขาเป็นพวกอนุรักษ์บ้านเก่า มาขอแกซื้อ
เพราะที่นี่มีพระเจดีย์ดั้งเดิม แต่สมัยไหนนี่ยายไม่รู้ น่าจะมีอายุ 200 กว่าปี ทางคุณพ่อยายเองก็ไม่ทราบแน่ชัด
เพราะ มีมาอยู่ก่อนแล้ว ตอนนั้นที่นี่มีจุดเด่น แค่พระเจดีย์ กับบ้านเก่า
พอตอนหลังหุ่นละครเนี่ย บางส่วนมาจากโจหลุยส์
พอดีโรงละครนาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก (โจหลุยส์)
หมดสัญญากับสวนลุมไนท์ บาซาร์ เขาก็เลยแยกกัน ส่วนหนึ่งก็มาตั้งที่นี่
ก็เปลี่ยนชื่อใหม่ เปลี่ยนแนวใหม่ ไม่ได้ใช้หุ่นตัวเดิมของเขา ตั้งคณะคำนาย ซึ่ง
“คำนาย” นี่ก็เป็นชื่อคุณพ่อของคนปั้นหุ่น โดยคนปั้นหุ่นก็คือ คุณวัชระ ประยูรคำ
เขาเป็นคนปั้นหุ่นของโจหลุยส์ แล้วเขาก็เลยช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้
ซึ่งหลายๆคนมาจากโจหลุยส์ ปัจจุบันก็มีเจ้าหน้าที่ประมาณ 15 คน
ที่เพิ่งมีโขนมาประมาณ 3 ปี แต่บ้านศิลปินนี้มีมาประมาณ 4 ปี เพราะ
บ้านต้องบูรณะซ่อมแซมก่อน แต่เค้าโครงยังเหมือนเดิม คราวนี้ก็กลายเป็น Highlight
เลย
จากเดิมก็มีนักท่องเที่ยวอยู่แล้วที่เข้ามาดูบ้าน ดูเจดีย์ พอมีหุ่นมา
พวกสื่อก็เข้ามาเยอะ ดาราก็เข้ามาเยอะ มาถ่ายกันแทบทุกรายการเลย ไม่ว่าจะเป็น
ตลาดสดสนามเป้า ช่อง 5 ช่อง 7 แล้วก็ประกอบกับทาง ททท. เขาก็ช่วยเหลือพาไปแสดงที่ต่างประเทศ ไปจีน
ไต้หวัน ญี่ปุ่น แล้วตอนนี้เขาก็ไปแสดงที่พัทยา (พวกผมก็เลยอดชม...) เพราะ
เขาจะอยู่ได้ก็ต้องมีคนว่าจ้างเขา เนื่องจากเขาแสดงที่นี่ เขาเปิดหมวก
มีตู้รับบริจาค แต่ก็ไม่ค่อยได้อะไร ต้อองมีค่ากิน ค่าอยู่
แล้วทำไมเขาถึงเล่นที่นี่ฟรีล่ะครับ
อย่างหนึ่ง เพราะ
เจ้าของบ้านเขาไม่ได้คิดค่าใช้จ่ายอะไร คือเขาใจรัก เขาอยากอนุรักษ์
รายได้เขาก็คือมีคนมาซื้อกาแฟ ซื้อสมุด หน้ากาก พวงกุญแจ เสื้อ แต่เขาไม่เก็บค่าดู
แต่บางคนเขาก็ให้เยอะนะ ควัก แบงค์พัน แบงค์ห้าร้อย แล้วคณะก็จะแบ่งส่วนหนึ่งไปพัฒนาหุ่นขึ้นมาอีก
เดิมมีแค่ 2 ตัว
แล้วสังคมที่นี่เปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อก่อนเยอะไหมครับ
ก็ถ้าคนเก่าๆเมื่อ 50 ปีที่แล้วเนี่ย ก็จะอยู่ไม่กี่คน วัยรุ่นก็มีบ้าง
บางคนก็ย้ายตามพ่อแม่ไป เพราะ รุ่นหลังๆเขาจะเรียนกันมาก ลูกคนจีน เขาก็ส่งลูกไปเรียน เมื่อก่อนยายก็เรียนที่โรงเรียนสุธรรมศึกษา
โรงเรียนนี้สร้างมานานแล้ว เมื่อก่อนมีโรงเรียนวัดศาลางาม
แล้วก็มีโรงเรียนจีนที่วัดกำแพง แต่ก็ไม่มีแล้วตอนนี้ เพราะ
เมื่อก่อนในชุมชนมีคนจีนอยู่เยอะมาก เมื่อก่อนมันจะคึกคักกว่านี้เยอะ
ลูกหลานจะอยู่กันเต็มเลย ตอนเช้าก็จะมีคนพายเรือมาจอดขายของ
แล้วก็พระพายเรือมาบิณฑบาต ตอนนี้ก็เหลือรูปเดียวแล้ว คือ เจ้าอาวาสวัดนวลนรดิษฐ์
เพราะ เดี๋ยวนี้มีเรือหางยาววิ่งแล้ว จึงไม่ค่อยสะดวก ประกอบกับทางเดินถนนไปสะดวกกว่า
แล้วพอมาช่วงสิบปีก่อนนี่จะเงียบมาก เนื่องจากมีคนส่วนหนึ่งย้ายไป คนเก่าก็เสียชีวิตไป
อาชีพเก่าก็ไม่ได้ทำต่อ ก็ปิดบ้านไป แล้วมาเดี๋ยวนี้ก็เริ่มกลับมาคึกคักใหม่ เพราะ
มีถนนเข้ามา มีฝรั่งเข้ามาเกือบทุกวันเลย
เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวเข้ามามาก มีปัญหาอะไรไหมครับ
ก็ไม่มีใครบ่นนะ อย่างบ้านเราเมื่อก่อนก็เงียบ พอเกษียณ
ก็ไม่ได้ทำอะไร เราก็เลยเห็นว่า
บ้านเราก็มีอยู่แล้วเราก็เปิดบ้านขายของพวกไม่เน่าไม่เสีย บ้างก็วาดรูปขาย
แล้วฝรั่งเขาก็ไม่ได้มาออกันหน้าบ้านนะ เขาก็เพียงแต่เดินผ่านไปผ่านมา
แวะชมบ้านเก่า ดูหุ่นละครตอนบ่ายสอง ถ้าดูนอกรอบก็จะต้องจองไว้แล้วก็เสียตังค์
ประมาณ 13,000 บาทนะ เพราะถ้าเขาเล่นข้างนอก ก็ได้ 20,000-30,000 บาท เพราะ
หุ่นตัวหนึ่งต้องใช้คนเชิด 3 คน หนุมาน เบญจกาย คนเปิดเสียง พิธีกรอีก
อย่างน้อย ก็ต้องใช้ 8 คนในการแสดง
แล้วในเรื่องนักท่องเที่ยวที่เข้ามา
ทำให้เสียความเป็นส่วนตัวรึเปล่าครับ
ทางเดินหน้าบ้านเนี่ยเราให้เดินตั้งแต่เมื่อก่อนแล้ว เหมือนถนน
แต่เวลาเสียเนี่ยก็พื้นที่ใคร พื้นที่มัน มันก็เหมือนวัฒนธรรมเก่าแก่ว่า
ตรงนี้มันคือทางเดินจะมาปิดทางไม่ได้ แต่ทางมันก็จะไปตันแค่บ้านศิลปิน
จึงไม่ค่อยมีคนเดินผ่านมาก
ร้านขายของที่คุณยายเพิ่งจะเปิดได้ 3 กว่าปีนี้เอง |
ศาลาที่คุณพ่อของคุณยายสร้างขึ้น แต่เดี๋ยวนี้ห้ามสร้างแล้วนะ เพราะผิดกฎหมาย |
ขอขอบคุณคุณยายที่เล่าเรื่องเกี่ยวกับชุมชนตลาดน้ำคลองบางหลวงให้ฟังครับ |
ขอขอบคุณ
- อาจารย์ไก่ที่มีงานให้ผมได้ไปซึมซาบรรยากาศถึงสถานที่จริง แม้จะไม่ได้ซาซึ้งเต็มที่เนื่องจากตารางเวลาไม่ตรง กันแต่ก็ทำให้ผมรู้ซึ้งถึงศิลปะ กับชุมชนที่เมื่ออยู่ด้วยกันแล้วมันทำให้เกิดคุณค่าทางวัฒนธรรมอย่างมาก
- คุณยายและคุณป้าที่ให้ผมสัมภาษณ์ อย่างเป็นกันเอง
- แป้งที่ไปเป็นเพื่อน
และขอขอบคุณแหล่งอ้างอิงข้อมูลต่างๆ
แป้งไปเป็นเพื่อน?? หรา??.....
ตอบลบ